ทำความรู้จักกับ Hybrid Workplace ทั้ง 5 แบบ

ในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 ที่ผ่านมานั้น การทำงานแบบ New Normal ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนทำงานมากขึ้น ทั้งการ Work Form Home หรือสถานที่ที่ไม่ใช่ออฟฟิศ แต่ในขณะเดียวกัน การทำงานลักษณะนี้อาจส่งผลกระทบต่องานได้ไม่น้อย โดยเฉพาะเรื่องของการสื่อสารที่ล่าช้าและอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ 

Hybrid Workplace เป็นรูปแบบการทำงานที่ต่อยอดมาจาก Work From Home ซึ่งพนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านหรือสถานที่ใดก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน  ซึ่งองค์กรที่ใช้รูปแบบการทำงานผสมระหว่างออนไลน์และออฟไลน์นั้น จะทำให้พนักงานปรับความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตที่ดี (Work and Life Balance) ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรมากขึ้นอีกด้วย


5 รูปแบบของ Hybrid Workplace มีดังนี้

รูปแบบที่ 1: Remote-Friendly หรือ Office First⁣⁣ 

เน้นการทำงานที่ออฟฟิศเป็นหลัก เริ่มจากต้องมีทีมหัวหน้าที่เป็นศูนย์กลาง คอยบริหารดูแลทีมที่ออฟฟิศเป็นประจำในแต่ละวัน พนักงานต้องเน้นการเข้าออฟฟิศเป็นหลัก โดยเฉพาะทีมที่ต้องอาศัยการประชุม การพูดคุยสื่อสารกันบ่อยๆ และอาจมีข้อยกเว้นสำหรับพนักงานในบางตำแหน่ง ซึ่งจะแบ่งสัดส่วนการเข้าออฟฟิศตามความเหมาะสม


รูปแบบที่ 2 : Hybrid แบบเฉพาะกลุ่ม หรือ Fixed Hybrid⁣⁣

การแบ่งกลุ่มพนักงานให้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคล มีหัวหน้างานเป็นคนตัดสินใจ โดยบางทีมสามารถ Work From Home ได้ เช่น Admin หรือแผนกที่จำเป็นต้องเข้ามาทำงานในออฟฟิศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น Human Resource, Account, Sales, IT เป็นต้น 
ในส่วนของการทำงานรูปแบบ  Hybrid แบบเฉพาะกลุ่ม จะมีข้อเสียที่เห็นได้ชัดคือความไม่เท่าเทียมกัน เพราะบางทีมสามารถ Work From Home ได้ แต่บางทีมจำเป็นต้องมาทำงานที่ออฟฟิศเท่านั้น
             

รูปแบบที่ 3: Collaboration Days⁣⁣

รูปแบบการทำงานที่จะเน้นให้พนักงานทำงานที่ออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่ แต่ให้ความยืดหยุ่นกับพนักงานในการเลือกที่จะทำงานข้างนอกได้ โดยจะต้องทำงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด และสามารถปล่อยให้ทีมมีอิสระในการกำหนดวันได้ด้วย
 

รูปแบบที่ 4: Flexible Hybrid หรือ Flexible Schedule

การทำงานที่สามารถให้พนักงานเลือกเวลาและสถานที่ในการทำงานได้ โดยการทำงานรูปแบบนี้จะให้อิสระกับพนักงานในการกำหนดรูปแบบของการทำงานในแบบของตัวเอง ซึ่งองค์กรต้องมีความสามารถในด้านการจัดการกระบวนการต่างๆ ให้เหมาะสมกับแต่ละคนเพื่อสอดคล้องกับพฤติกรรมการทำงานของคนรุ่นใหม่

รูปแบบที่ 5: Remote-First หรือ ออนไลน์ไว้ก่อน⁣⁣

เน้นการทำงานออนไลน์เป็นหลัก แต่อาจจะเข้าออฟฟิศบ้างตามวาระความจำเป็น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรูปแบบในการทำงานที่ค่อนข้างมีความยืดหยุ่นสูงสำหรับพนักงานนั่นเอง

ข้อดีในการทำงานรูปแบบ Hybrid Workplace

Hybrid Workplace เป็นรูปแบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่น โดยขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของแต่ละองค์กร สามารถทำงานจากที่ใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ตัวอย่างเช่น บางคนคิดงานได้ดีที่สุดในตอนเช้า ในขณะที่บางคนคิดงานได้ดีขึ้นในตอนกลางคืน นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้พนักงานรู้จักวางแผนการทำงานด้วยตัวเอง โดยโฟกัสที่ผลสำเร็จของงานตามเป้าหมายที่วางไว้และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร รวมถึงไม่ต้องออกไปเผชิญกับปัญหารถติดในทุกๆวัน และที่สำคัญยังสามารถช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของบริษัทได้อีกด้วย

ข้อเสียในการทำงานรูปแบบ Hybrid Workplace

การทำงานรูปแบบ Hybrid Workplace อาจมีข้อจำกัดในการทำงานอยู่บ้าง โดยเฉพาะในเรื่องของการสื่อสารที่ล่าช้า  จึงจำเป็นที่จะต้องนำเทคโนโลยีหรือซอฟต์แวร์เข้ามาใช้ในการทำงานเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับทีม ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มขึ้นไปด้วย

แนะนำเทคโนโลยีที่ควรนำมาใช้สำหรับ Hybrid Work Place

Google Workspace คือ บริการอีกอย่างหนึ่งจาก Google เป็นแอปพลิเคชันที่ใช้สำหรับบริหารจัดการองค์กร เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างเต็มรูปแบบ เหมาะกับธุรกิจทุกขนาด ไม่ว่าจะขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ โดยจะมีแอปพลิเคชันที่เหมาะสำหรับการทำงานต่างๆ มากมายให้เลือกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Gmail, Calendar, Google Drive, Docs, Sheets, Slides, Google Meet - Video Conference

Zoom คือ แอปพลิเคชั่นที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการประชุม เป็นบริการสำหรับการประชุมโดยเฉพาะ สามารถสร้างการประชุมแบบเสียงหรือวิดีโอได้ในความละเอียดระดับ HD รองรับการแชร์หน้าจอหลายจอพร้อมกัน มีระบบสลับภาพไปหาผู้พูดอัตโนมัติ รองรับการบันทึกการสนทนาเป็นวิดีโอ จุดเด่นคือผู้ร่วมประชุมสามารถเข้าร่วมประชุมได้ทันทีโดยไม่ต้องมีบัญชีของ Zoom

Jira คือ แพลตฟอร์มสำหรับจัดการโครงการและติดตามปัญหาชั้นนำสำหรับวิศวกรซอฟต์แวร์และทีมงานภายในอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาและติดตามความคืบหน้าของโครงการได้